แม้ว่าเครื่องสำอางจะเป็นของเล่นชั้นเยี่ยมในการช่วยพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมจินตนาการให้กับลูกน้อยของคุณ หากแต่การจะคัดสรรเครื่องสำอางมาให้เด็กๆได้เล่นนั้น จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยอย่างสูงสุด เนื่องจากผิวหนังของเด็กๆนั้นมีความอ่อนโยนและบอบบาง สามารถเกิดผื่นแพ้ได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จะต้องเลือกเครื่องสำอางที่เหมาะสมและมีการรับประกันว่า จะไม่ส่งผลเสียให้กับลูกน้อยของคุณทั้งในระยะฉับพลันและระยะยาว
เครื่องสำอางผู้ใหญ่ถือเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับเด็ก เนื่องจากเครื่องสำอางผู้ใหญ่ส่วนมากนั้น มักจะมีส่วนผสมของสารเคมีที่หนาแน่น ซึ่งส่งผลอย่างร้ายแรงต่อลูกน้อย สารบางตัวอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ หรือผื่นแพ้บนผิวหนังทันทีที่ใช้งาน สารบางตัวก็อาจส่งผลในระยะยาว เช่น ยับยั้งการเจริญเติบโตในบางส่วน หรือก่อให้เกิดความผิดปกติในด้านฮอร์โมน ซึ่งอาจไม่ได้ส่งผลให้เห็นทันที แต่กลับเป็นผลเสียที่ร้ายแรงและยากต่อการรักษาในอนาคต
ดังนั้น เรามาเรียนรู้ถึง 10 สิ่งที่อันตรายของเครื่องสำอางผู้ใหญ่ที่ส่งผลเสียต่อผิวหน้าเด็กกัน เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เพิ่มความระมัดระวัง และเลือกใช้เครื่องสำอางที่เหมาะสมกับลูกน้อยได้อย่างแท้จริงค่ะ
1.สารพาราเบน (Paraben)
สารพาราเบน ถือเป็นสารเคมีพื้นฐานที่แทบจะมีอยู่ในเครื่องสำอางผู้ใหญ่ทุกรูปแบบ เนื่องจากสารพาราเบนนั้นเป็นสารกันเสียที่ช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานตัวผลิตภัณฑ์ให้อยู่ได้ทนและยาวนานยิ่งขึ้น ผู้ผลิตจึงนิยมใช้โดยมองข้ามถึงความอันตรายร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการสะสมเป็นเวลานาน
สารพาราเบนก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งในระยะฉับพลันและระยะยาว โดยในระยะฉับพลันนั้น สารพาราเบนอาจก่อให้เกิดอาการผื่นแพ้ผิวหนัง บริเวณที่สัมผัสกับสารพาราเบนนั้นจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง เกิดอาการคันหรือแสบได้ ในขณะที่ผลกระทบระยะยาวนั้นคือการส่งผลกระทบโดยตรงกับการทำงานของต่อมไร้ท่อ ซึ่งเป็นส่วนที่ผลิตฮอร์โมนโดยตรง ดังนั้น หากลูกน้อยได้ใช้ไป ก็จะส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติได้ ซึ่งยากต่อการแก้ไขหรือการรักษาอย่างมาก
2.สารไตรเอทาโนลาไมน์ (Triethanolamine)
สารไตรเอทาโนลาไมน์นั้น มีข้อดีในการมีฤทธิ์ช่วยในการชะล้าง โดยส่วนมากมักจะใช้ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ช่วยทำความสะอาดผิว แต่ข้อเสียนั้นอาจเกิดขึ้นเนื่องจากสารไตรเอทาโนลาไมน์นั้นมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนสูง หากใช้กับผิวที่บอบบางของลูกน้อย ก็จะมีความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการระคายเคือง อาการแสบและคันที่ผิวได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงโดยการให้ลูกน้อยได้ใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เหมาะสมกับเด็ก และมั่นใจได้ว่าปราศจากสารเคมีดังกล่าว
3. สารไพลโพลีนไกลคอล (Propylene Glycol)
สารไพลโพลีนไกลคอลมีหน้าที่สำคัญในการทำให้เครื่องสำอางมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม เป็นเจล ทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสามารถซึมซับเข้าสู่ผิวได้ง่ายและใช้งานได้อย่างเรียบเนียน หากแต่สารนี้ทำให้ผิวที่ถูกสัมผัสเกิดอาการแสบร้อน หรืออาการคันได้ ลูกน้อยจึงควรหลีกเลี่ยงและไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารสกัดจากธรรมชาติแทน
4.สารซิลิโคน (Silicone)
สารซิลิโคนนั้นมีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกับสารไพลโพลีนไกลคอล โดยช่วยให้เครื่องสำอางมีความนุ่มลื่น ซึมซับกับผิวได้ง่าย หากแต่สารซิลิโคนเมื่อใช้ไปนานๆจะก่อให้เกิดการอุดตันบริเวณผิวหนังได้ เนื่องจากซิลิโคนเป็นสารหนักที่ปิดทับผิวหนัง จึงไม่เหมาะอย่างยิ่งกับการใช้งานโดยเฉพาะกับผิวหนังที่บอบบางของลูกน้อย
5.สารปรอท (Mercury)
สารปรอทนั้นมีผลในการช่วยปรับสีผิวให้ขาวขึ้น มักเป็นส่วนผสมสำคัญในเครื่องสำอางผู้ใหญ่อย่างเช่น ครีมรองพื้น แป้ง หรือผลิตภัณฑ์ช่วยปรับสีผิวอื่นๆ ผลเสียเมื่อใช้ในระยะเวลาที่ยาวนานและต่อเนื่อง สารปรอทสามารถแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือด และนำไปสู่การทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กๆ ดังนั้น สารปรอทจึงเป็นสารต้องห้ามและควรหลีกเลี่ยงในการใช้กับลูกน้อย
6.สารตะกั่ว (Lead)
สารตะกั่วมักพบในผลิตภัณฑ์อย่างลิปสติก ซึ่งเป็นสารที่จัดว่ามีความอันตรายสูงมาก เนื่องจากร่างกายสามารถดูดซึมสารนี้ได้อย่างง่ายดาย ก่อให้เกิดอาการปวดบิดในช่องท้องอย่างรุนแรง หรือในบางรายอาจเกิดอาการท้องผูกร่วมด้วย บางกรณีที่รุนแรงอาจก่อให้เกิดการถ่ายเป็นเลือด รู้สึกอ่อนแรง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดภาวะซีดฉับพลัน เนื่องจากสารตะกั่วส่งผลในการทำลายเม็ดเลือดแดงโดยตรง จนนำไปสู่การเกิดภาวะระบบประสาทแปรปรวน
สารตะกั่วไม่ควรนำไปใช้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก หากแต่บางผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างเหมาะสมก็อาจมีการปนเปื้อนสารตะกั่วมาได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรระมัดระวัง และตรวจสอบให้ดีว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เลือกให้กับลูกน้อยไม่มีสารตะกั่วเป็นส่วนประกอบ
7.สาร PVP (Polyvinyl Pyrrolidone)
สาร PVP มักพบในสเปรย์ที่ใช้ฉีดเพื่อการตกแต่งทรงผม ลักษณะของสารดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับกาว โดยมีคุณสมบัติทำให้ผมอยู่ทรงได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน อย่างไรก็ตามสารนี้ก่อให้เกิดอันตรายผ่านทั้งการสัมผัสและการสูดดม โดยก่อให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน บางรายอาจเกิดอาการผมร่วง รวมถึงบริเวณผิวหนังรอบข้างเช่นบริเวณข้างหู หน้าผาก หรือคอ ก็อาจเกิดอาการผื่นแพ้ได้อีกด้วย
8.แป้งทัลคัม (Talcum)
แป้งทัลคัมมักพบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผู้ใหญ่ที่มีลักษณะเป็นฝุ่นแป้ง เช่น อายแชโดว์ แป้งฝุ่น ซึ่งมีผลร้ายแรงหากใช้งานในระยะเวลาต่อเนื่อง หากสูดดมเข้าไปจะก่อให้เกิดการสะสมในปอด ก่อให้เกิดโรคปอด โรคมะเร็งปอด หรืออาจลามไปถึงการเป็นมะเร็งต่อมหมวกไตได้อีกด้วย ในผู้หญิง แป้งทัลคัมยังสามารถส่งผลถึงการทำงานในรังไข่ได้ ซึ่งทำให้เกิดการแปรปรวนหรือเกิดมะเร็งรังไข่ได้หากใช้ในระยะเวลานาน
9.สารสเตียรอยด์ (Steroids)
สารสเตียรอยด์มักพบในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า หากแต่บางครั้งก็พบในเครื่องสำอางบางประเภท เนื่องจากสารนี้ช่วยให้ผิวหน้าเนียนสวย ใส ไร้สิว ได้ในระยะเวลาอันสั้น หากแต่เมื่อหยุดใช้งานจะพบว่า สิวหรือผื่นแพ้ต่างๆจะเห่อขึ้นมากกว่าปกติ ในบางรายอาจพบว่าผิวเกิดการแตกลายหรือเป็นรอยแดง
นอกจากนี้ การใช้สารสเตียรอยด์ในเด็ก พบว่าสารนี้ส่งผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตในเด็กอีกด้วย โดยจะไปกดภูมิต้านทานโรคที่มีในร่างกายจนทำให้ผู้ใช้เกิดการอ่อนแอ และส่งผลให้รับเชื้อจากภายนอกได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้น สารสเตียรอยด์ถือเป็นสิ่งต้องห้าม ในการใช้กับลูกน้อยหรือเด็กในวัยเจริญพันธุ์
10.สารไฮโดรควิโนน (Hydroquinone)
สารไฮโดรควิโนน เป็นสารที่มีคุณสมบัติในการช่วยฟอกสีผิว ออกฤทธิ์ช่วยยับยั้งหรือกดกระบวนการทางเคมีของเซลล์สร้างเม็ดสี จึงทำให้ฝ้าหรือริ้วรอยต่างๆจางลงไปได้อย่างรวดเร็ว สารนี้มักถูกผสมในครีมรักษาฝ้า และในเครื่องสำอางที่เกี่ยวข้องกับผิวหน้าโดยตรง หากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิว เกิดสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอกัน และทำให้ผิวหน้านั้นมีความบางขึ้น ทำให้ไวต่อแสงแดดอย่างมาก
เครื่องสำอางแบบไหนที่เหมาะกับลูกน้อยของคุณ?
“เครื่องสำอางเด็กแบรนด์พิวนารา ปลอดภัย ไร้สารเคมี และดีต่อผิว”
เครื่องสำอางเด็กแบรนด์พิวนารานั้น ได้รับการการันตีในเรื่องของความปลอดภัย โดยได้รับ Certified by ECOCERT ซึ่ง ECOCERT นั้น เป็นเครื่องหมายการรับรองสินค้าประเภทออร์กานิค (สินค้าที่มีการผลิตในรูปแบบธรรมชาติแบบอินทรีย์) ที่มีมาตรฐานการคัดกรองอย่างสูงจากประเทศฝรั่งเศสค่ะ ECOCERT นั้นมีมาตรฐานเทียบเท่าและเป็นที่ยอมรับของกระทรวงเกษตรในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงเป็นหนึ่งในผู้นำของตรารับรองมาตรฐานการใส่ใจธรรมชาติที่มีชื่อเสียงในระดับสากล ดังนั้น หากเป็นเรื่องของความปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่สามารถวางใจในการใช้เครื่องสำอางเด็กพิวนารา กับผิวอันอ่อนโยนของลูกน้อยได้เลยค่ะ เนื่องจากเครื่องสำอางเด็กพิวนาราทุกอย่างมาจากส่วนผสมของธรรมชาติ ซึ่งถูกคัดสรรมาแล้วว่ามีความปลอดภัย ใช้ได้โดยไม่เกิดผลกระทบต่อผิวที่บอบบาง สามารถใช้ได้ทั้งกับเด็กและสตรีมีครรภ์
นอกจากนี้ เครื่องสำอางเด็กแบรนด์พิวนารา ยังมีส่วนประกอบที่มาจากธรรมชาติยังช่วยบำรุงผิวของลูกน้อยให้เกิดความแข็งแรงขึ้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นแว๊กซ์ที่สกัดจากต้นปาล์มคาร์นูบ้า (Carnuba Wax) และแคนเดลิลลาแว๊ซ์ (Candalilla Wax) ทำให้เครื่องสำอางช่วยบำรุงและเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวได้ นอกจากนี้ยังมี Tocopherol acetate ซึ่งเป็นวิตามินอีที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เรียกได้ว่า นอกจากเครื่องสำอางเด็กแบรนด์พิวนาราจะไม่ทำลายผิวอันอ่อนโยนของลูกน้อยแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ความชุ่มชื้นของผิว ทำให้เด็กๆ พร้อมที่จะออกไปเผชิญโลกกว้าง และทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างมั่นใจไร้กังวล
เครื่องสำอางพิวนารา มีสินค้าให้เลือกหลากหลาย สำหรับใบหน้า ทั้งเครยอนสติ๊ก ลิปกลอส ลิปสติกเด็ก และยังมีเจลแต่งผมเด็ก ส่วนสำหรับร่างกาย ทางพิวนารา ก็มียาทาเล็บเด็ก ที่เป็นสูตรน้ำ ไม่เหม็นและไม่ทำอันตรายต่อลูกน้อย เครื่องสำอางเด็กของเรา ยังมีในรูปแบบเซตชุดแต่งหน้าเด็กออร์แกนนิค ที่น่ารักและยังสามารถพกพาได้ง่ายอีกด้วย แต่ที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของความปลอดภัย
จากคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมเครื่องสำอางเด็กแบรนด์พิวนารา จึงได้รับความนิยมและถือเป็นเครื่องสำอางเด็กอันดับ 1 ที่พ่อแม่ในไทยไว้วางใจเลือกใช้ ดังนั้น ลองให้เครื่องสำอางเด็กพิวนาราเป็นหนึ่งในของเล่น ที่จะช่วยให้ลูกน้อยของคุณมีพัฒนาการ เกิดความมั่นใจ และพร้อมเรียนรู้ไปด้วยกันนะคะ
ข้อมูลอ้างอิง:
Indian J Dermatol. TOPICAL TREATMENT OF MELASMA. 2009 Oct-Dec; 54(4): 303–309. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2807702/
นางสาวอัจฉราพรรณ ตันติปัญจพร และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี. สารปรอทปริมาณสูงในครีมหน้าขาวและการทดสอบเบื้องต้น. 2014 June. Available from: http://www.sc.mahidol.ac.th/usr/?p=320
อภัย ราษฎรวิจิตร. ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone). 2015 Febuary. Available from:
กองพัฒนาศักยาภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. อย. เตือน อย่าซื้อ อย่าใช้ เครื่องสำอางอันตราย 34 รายการ เสี่ยง! หน้าพัง . 2010 July. Available from: http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/%E0%B8%82%E0%B9...
Comments